บทความ

ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์

ในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาเทรนด์การประหยัดพลังงานกำลังเป็นที่นิยม ผู้คนหันมาสนใจเรื่องนี้กันมากขึ้นด้วยปัญหาของ “ภาวะโลกร้อน” ที่มีปัญหาติดต่อกันต่อเนื่องมาหลายปี โดยการประหยัดพลังงานเพื่อรักษ์โลกนั้นก็มักจะเริ่มต้นด้วยเรื่องง่าย ๆ เช่น  การลดใช้ขยะพลาสติกเพื่อลดการเผาขยะ การปิด-เปิดไฟที่ไม่ใช้ การลดใช้ไฟฟ้า ซึ่งหนึ่งในวิธีประหยัดพลังงานที่ผู้คนนิยมและให้ความสนใจเป็นอย่างมากนั่นก็คือการหันมาใช้ “โซลาร์เซลล์”

 

ผลิตภัณฑ์จากโซลาร์เซลล์เองก็มีให้เลือกสรรมากมายไม่ว่าจะเป็นไฟสนามที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ไฟถนนโซลาร์เซลล์ หลอดไฟหรือโคมไฟโซลาร์เซลล์ แต่หากจะลงทุนเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานสูงสุดและยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นในทุก ๆ ปี นั่นก็คือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ นั่นเอง วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโซลาร์เซลล์ประเภทต่าง ๆ กัน

โดยในปัจจุบันรูปแบบของแผงโซลาร์เซลล์ที่พบได้ทั่วไปมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท

โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

ทำมาจากสารกึ่งตัวนำประเภทผลึกซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูงหรือเรียกอีกอย่างว่าผลึกเดี่ยว (Single Crystalline Silicon Solar Cells) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด มีสีเข้ม

  • ข้อดี
    • มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงสุด
    • มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 25 ปีขึ้นไป
    • เมื่ออยู่ในพื้นที่แสงน้อย ก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแผงโซลาร์เซลล์ประเภทอื่น
  • ข้อเสีย
    • มีราคาสูง
    • การใช้งานในที่อุณหภูมิสูง แผงแบบพอลิคริสตัลไลน์จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่าแผงแบบโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย
    • หากไม่มีการทำความสะอาดและมีสิ่งสกปรกบดบังบนแผง อาจทำให้เกิดการลัดวงจรของแผงและเกิดการไหม้ได้

โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

ทำมาจากซิลิคอนเช่นเดียวกันกับแผงประเภทโมโนคริสตัลไลน์ แต่ต่างกันที่ใช้ซิลิคอนเหลวในการผลิตมาเทใส่พิมพ์สี่เหลี่ยมแล้วจึงนำมาตัดเป็นแผ่นของเซลล์ สีของแผงมีสีน้ำเงินเข้ม

  • ข้อดี
    • มีราคาถูกกว่าแผงประเภทโมโนคริสตัลไลน์
    • มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดี แต่น้อยกว่าแผงแบบโมโนคริสตัล
    • มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20-25 ปี
    • การใช้งานในที่อุณหภูมิสูง แผงแบบพอลิคริสตัลไลน์จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่าแผงแบบโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย
  • ข้อเสีย
    • หากไม่มีการทำความสะอาดและมีสิ่งสกปรกบดบังบนแผง อาจทำให้เกิดการลัดวงจรของแผงและเกิดการไหม้ได้

อะมอร์ฟิสหรือฟิล์มบาง (Amorphous Solar Cell or Thin Film Solar Cells)

ทำจากสารเคลือบที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้กระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นชั้นฟิล์มบาง ๆ ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น จึงมีลักษณะเป็นฟิล์มบางเรียบตลอดทั้งแผ่น สามารถออกแบบให้ดัดโค้งงอได้

  • ข้อดี
    • ถ้ามีพื้นที่เหลือเยอะ แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมเพราะมีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับทุกชนิด
    • ลดปัญหาการเกิดปัญหาแผงสกปรก
  • ข้อเสีย
    • มีประสิทธิภาพผลิตไฟฟ้าได้ต่ำที่สุด
    • ไม่เหมาะสำหรับติดตั้งบนหลังคาบ้านทั่วไป เนื่องจากมีความบางและลักษณะที่โค้งงอ แต่เหมาะสำหรับการใช้ทำเครื่องคิดเลข

 

 

 

Back to list