ตอบ : ติดตั้งได้ทุกพื้นที่ที่มีแสงอาทิตย์ส่องสว่างเข้าถึงโดยไม่มีเงาของต้นไม้หรืออาคารบดบัง ไม่ว่าจะบนพื้นดิน บนหลังคา รวมถึงลอยบนผิวน้ำ
ตอบ : อุปกรณ์หลัก ๆ ในระบบโซลาร์เซลล์ต้องมีคือ
- แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) : ทำหน้าที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ และแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า
- เครื่องแปลงไฟ (Inverter) : ทำหน้าที่แปลงไฟกระแสตรง (DC) ในระบบไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปภายในบ้าน โดยชนิดของ Inverter มีให้เลือกตามรูปแบบการใช้งาน
- ชุดสายไฟ (Wiring) : ชุดสายไฟ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบ โซลาร์เซลล์เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ
- อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า (Circuit protection) : เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า เช่นการลัดวงจรหรือไฟฟ้าเหนี่ยวนำจากฟ้าผ่า ฯลฯ
*ในกรณีที่เป็นระบบ Off Gird และ Hybrid จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพิ่มขึ้นมาคือ
- แบตเตอรี่ (Battery) : ทำหน้าที่จะเก็บพลังงานไฟฟ้า เพื่อเอาไว้ใช้ในเวลากลางคืน หรือ ช่วงที่ไม่มีแดด
- ตัวควบคุมการชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่ (Solar Charge Controller) : หากตัวอินเวอร์เตอร์เป็นชนิดที่ไม่มีฟังก์ชันนี้ไว้ในตัว จำเป็นจะต้องมีติดตั้งเสริมภายนอก เพื่อควบคุมปริมาณพลังงานที่จะชาร์จให้เหมาะสมกับชนิด และขนาดของแบตเตอรี่
ตอบ : แบ่งตามการใช้งาน จะมีด้วยกัน 3 ระบบคือ : On Gird, Off Grid, Hybrid
- On Gird : เป็นระบบที่นำไฟที่ผลิตได้จากแผลโซลาร์เซลมาแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับให้ได้แรงดันและควมถี่ตรงกันกับไฟของการไฟฟ้าแล้วนำมาเชื่อมขนานกันโดยระบบจะนำไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ไปใช้งานเป็นลำดับแรก และเมื่อไม่มีแดดหรือไม่พอต่อการใช้ก็จะดึงไฟจากการไฟฟ้าเข้ามาเสริมจนเพียงพอต่อการใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ทีใช้ไฟฟ้ามากในตอนกลางวัน *ระบบนี้ต้องขออนุญาตขนานไฟจากการไฟฟ้า*
- Off Grid : เป็นระบบที่นำไฟที่ผลิตได้จากแผลโซลาร์เซลมาชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่แล้วนำแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อนำไปใช้งานโดยไม่ได้เชื่อมต่อขนานกับไฟของการไฟฟ้า ระบบนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่สายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น บนเกาะ, บนเขา, บนดอย *ระบบนี้ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า*
- Hybrid : เป็นระบบที่นำเอา On Grid, Off Grid มาผสมกัน คือนำไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแล้วนำไปใช้งาน และยังเชื่อมขนานกับไฟของการไฟฟ้า ถ้าเหลือใช้ก็จะชาร์จเก็บไว้สำรองในแบตเตอรี่ ไว้ใช้ตอนไม่มีแสงแดด ทำให้มีแหล่งจ่ายไฟถึง 3 แหล่ง คือโซลาร์เซลล์ การไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ซึ่งมีความเสถียรมาก แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูงกว่าระบบอื่น ระยะเวลาในการคืนทุนนานกว่าระบบอื่นเหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้ามากตอนกลางคืน *ระบบนี้ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าก่อนติดตั้ง*
ตอบ : ผู้ผลิตรับประกันคุณภาพนานถึง 12 ปีแต่แผงมีอายุการใช้งานที่นานมากกว่า 25 ปี แต่ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าอาจจะลดลงบ้างประมาณ 20 %หลังจากนั้น
ตอบ : สามารถติดตั้งระบบ โซล่าเซลล์ ได้บนหลังคาทุกชนิด โดยสามารถเลือกอุปกรณ์จับยึดที่เหมาะสมกับชนิดหลังคาที่ต้องการติดตั้ง
ตอบ : การทำให้แผงโซลาร์เซลล์ตั้งฉากกับแสงอาทิตย์จะมีปรสิทธิภาพมากที่สุด แต่จะต้องปรับมุมอยู่ตลอดเวลาซึ่งยุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงเลือกมุมที่ใกล้เคียงที่สุดและรับแสงได้นานที่สุดแทน ในพื้นที่ประเทศไทยดวงอาทิตย์ขึ้นฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวันตกจะอ้อมไปทางทิศใต้เล็กน้อย (62 องศา) กินเวลาประมาณ 8 เดือน (กันยายน-เมษายน) การติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นมุมที่เอียงไปทางทิศใต้เล็กน้อยจึงเป็นทิศที่เหมาะสมที่สุดแต่ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมุมได้ก็ติดตามมุมของหลังคาเดิม แต่ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าก็อาจลดลงตามปริมาณแสงที่ได้รับ
ตอบ : ก่อนติดตั้ง จำเป็นที่จะต้องมีการสำรวจหน้างานเพื่อการจัดเตรียมอุปกรณ์ให้เหมาะสม และต้องคำนึงถึงโครงสร้างและความแข็งแรงของหลังคา ว่าสามารถรองรับน้ำหนักแผงโซลาร์เซลล์ได้มากกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และใช้อุปกรณ์สำหรับจับยึดที่ได้มาตรฐาน โดยการทำการสอดยึดโครงโลหะเข้ากับโครงสร้างหลังคาเพื่อยึดแผงโซลาร์เซลล์และล็อคแผงด้วยอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับแผงโซลาร์เซลล์
ตอบ : หากต้องการใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ในตอนกลางคืน ต้องติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off-Grid หรือ Hybrid เพราะเป็นระบบที่มีการติดตั้งแบตเตอรี่ โดยแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ในตอนกลางวัน จะนำไฟฟ้าไปชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และนำมาใช้ในตอนกลางคืนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการคำนวณออกแบบระบบเพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ให้เหมาะสม
ตอบ : หากเป็นระบบ On Grid หรือระบบ Hybrid ซึ่งเป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าอยู่แล้ว
- กรณีไฟที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ไม่เพียงพอ เช่น ช่วงตอนเช้า ตอนเย็น หรือช่วงที่มีเมฆบดบังแสงแดด กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าก็จะไหลเข้ามาเติมจนเพียงพอกับการใช้งานโดยไม่ทำให้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง (ยกเว้นการไฟฟ้าขัดของเวลานั้น)
- กรณีระบบโซลาร์เซลล์มีปัญหา ก็เช่นเดียวกัน กระแสไฟจากการไฟฟ้าก็ยังไหลเข้ามาปรกติเพียงพอต่อการใช้งาน เหมือนกับตอนกลางคืน
ตอบ : แผงโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากความเข้มของแสง ที่เกิดจากดวงอาทิตย์ความร้อนไม่เกิดประโยชน์กับแผงโซลาร์เซลแต่ประการใด
ตอบ :แผงโซลาร์เซลล์สามารถทำงานเมื่อได้รับแสงฉนั้นหากในวันที่ฝนตกแต่ยังมีแสงส่องมาถึงแผงโซลาร์เซลล์ก็ผลิตไฟฟ้าได้
ตอบ : โซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าได้น้อยเนื่องจากมีเมฆบดบังแสงจึงควรมีแหล่งไฟสำรองไว้ใช้ตามความจำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใช้งานเป็นระบบไหน (ดูคำถามที่3)
ตอบ :
: ปัจจุบันอุปกรณ์ ในระบบโซลาร์เซลล์ถูกออกแบบ และพัฒนาให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่าในตัว แต่ถ้าหากว่าเป็นระบบรุ่นเก่า ที่ยังไม่มีระบบป้องกันในตัวคงต้องติดตั้งระบบอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ก็คือ
- ติดตั้งสายดินให้กับแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) = ติดตั้งเพื่อช่วยเป็นตัวนำไฟฟ้าที่โดนฟ้าผ่า ลงสู่พื้นดิน
เพราะว่าทุกครั้งที่เกิดฟ้าผ่า ไม่ว่าจะเป็นการผ่าลงตรงๆที่แผง หรือใกล้กับแผง จะเกิดสนามแม่เหล็ก และกระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าที่แผงโซลาร์เซลล์ และทำให้อุปกรณ์ Inverter ในระบบโซลาร์เซลล์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความเสียหายได้
- ติดตั้งเครื่องป้องกันไฟกระชากแรงดันสูง (Surge Protection Device) = ป้องกันการลัดวงจรของไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในระบบ
- ดึงปลั๊กไฟออก = เพื่อลดความเสี่ยงได้ ในกรณีที่ฟ้าผ่าลงที่ตัวเครื่อง Inverter ตรงๆ เพื่อเลี่ยงความเสียหายที่อาจะเกิดขึ้นกับตัวอุปกรณ์
ตอบ : ระบบโซลาร์เซลล์เซลล์นอกจากจะมีไฟไว้ใช้เองแล้ว หากผลิตไฟฟ้าแล้วเกิดใช้ไม่หมด สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน แต่ต้องมีการเดินเรื่องขอและเซ็นกรอกข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอุปกรณ์ระบบโซลาร์เซลล์ต่าง ๆ และข้อมูลผู้ขอใช้บริการ รวมถึงยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขออนุญาต เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์
*ทั้งนี้ขั้นตอนในการดำเนินการ และกรอกเอกสารค่อนข้างมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากพอสมควร เนื่องจากต้องมี
ความรู้ด้านอุปกรณ์ และการจัดเตรียมเอกสารเพื่อขออนุญาตก็มีมากมายเช่นเดียวกัน
ตอบ : หากเป็นระบบ Off Grid ไม่ต้องจ่ายบิลค่าไฟฟ้า เพราะระบบ Off Grid เป็นระบบปิดที่ไม่มีการเชื่อมต่อเพื่อ “ใช้ไฟ” กับการไฟฟ้าอยู่แล้ว
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้คนจะใช้ระบบโซลาร์เซลล์เป็นระบบ On Grid ซึ่งระบบมีการเชื่อมต่อใช้ไฟ กับการไฟฟ้าอยู่ เนื่องจากเป็นระบบที่ยังอาศัยไฟจากการไฟฟ้าเพื่อใช้ไฟอยู่ในเวลากลางคืน หรือช่วงเวลาที่แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟไม่เพียงพอ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ฝนตกติดต่อกันในระยะเวลายาวนาน จนทำให้แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟใช้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ตอบ : เป็นโครงการที่ทางการไฟฟ้านครหลวงได้รับซื้อ ไฟฟ้าส่วนเกิน จากผู้ที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เท่านั้น
โดยส่วนที่เหลือขายได้ 2.20 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลาสัญญา 10 ปี โครงการนี้สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านพักอาศัย เท่านั้น ที่กำลังผลิตติดตั้งแผงโซลาร์ (Solar Panel) ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ต่อราย สำหรับเชื่อมต่อระบบไฟ 3 เฟส (220/380V) และ ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ ต่อราย สำหรับเชื่อมต่อแบบ 1 เฟส (220V)
สรุป : หากบ้านลูกค้าติดระบบโซลาร์เซลล์ เรียบร้อยแล้ว สามารถเอาไฟที่ผลิตเกินจากการผลิต ขายคืนให้กับทาง การไฟฟ้านครหลวง
*โดยที่โครงการมีกำหนดยื่นคำขอ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565
(รหัสโครงการ : VSPP-RT3)
ตอบ :
- ช่วยลดต้นทุนในการจ่ายค่าไฟฟ้าที่ลดน้อยลง
- ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
- เป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยลดมลพิษของโลกได้