“ปลั๊กไฟ” อุปกรณ์ไฟฟ้าที่หลาย ๆ คนอาจจะมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่า ปลั๊กไฟธรรมดาอาจเป็นภัยใกล้ตัวที่คุณคาดไม่ถึง เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไปจนถึงเกิดการระเบิด USP มีความรู้ เรื่องมาตรฐานปลั๊กไฟคำแนะนำการเลือกปลั๊กไฟ และการใช้งานปลั๊กไฟให้ถูกต้องลดการเกิดอันตราย ไปชมกันเลย !
.
ปัจจุบันในประเทศไทย มาตรฐานของปลั๊กพ่วง จะต้องเป็น “ขากลม” อ้างอิงตามมาตรฐานของ มอก.166/2549 ที่กล่าวไว้ว่า เต้าเสียบและเต้ารับต้องมีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 250 โวลต์ ซึ่งขาปลั๊กไฟแบบกลม (Round Pin) เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าบ้านเราที่มีแรงดัน 220 โวลต์ ดังนั้น มาตรฐานปลั๊กไฟ ของประเทศไทย ณ ปัจจุบันจึงเหมาะกับขากลมมากกว่า
.
อีกทั้ง มาตรฐานปลั๊กไฟ เต้ารับควรจะมี 3 ช่องและเต้าเสียบควรมี 3 ขา เนื่องจากมีการต่อสายดิน (Ground) ซึ่งจะปลอดภัยกับผู้ใช้งานมากกว่า หากเต้ารับเป็น 3 ช่องแต่เต้าเสียบเป็น 2 ขา จะไม่มีการต่อสายดิน และเมื่อใช้งานเต้าเสียบควรเสียบได้อย่างแน่นหนา ไม่หลุดหลวม หากเต้าเสียบหลวมนั้นจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานติด ๆ ดับ ๆ ส่งผลเสียให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย หรือเกิดความร้อนที่จุดต่อของปลั๊กไฟ
.
1 ในเรื่องที่ผู้ใช้งานคาดไม่ถึงคือ “ขนาดของสายไฟ” มาตรฐานของปลั๊กไฟ ประเทศไทยสายไฟต้องมีขนาดอย่างน้อย 0.75 SQ.MM. ในกรณีที่ยาวไม่เกิน 5 เมตรและไม่ควรใช้กระแสไฟฟ้าเกิน 2,000 วัตต์ ซึ่งหากใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ อาจไม่มีผลกระทบใด ๆ แต่ถ้าหากใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการแรงดันไฟจำนวนมาก เช่น เครื่องซักผ้า เตาไฟฟ้า ไดร์เป่าผม จะมีโอกาสที่จะเกิดกระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่สายไฟจะรับได้ ในกรณีที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 2,000 วัตต์ ควรสังเกตุว่าสายไฟร้อนหรือไม่ หากมีความร้อนควรลดปริมาณการเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลง
และเพื่อความปลอดภัย ปลั๊กไฟที่ใช้ควรมี “Breakers” เพื่อตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อปลั๊กไฟใช้งานเกินกำลังไฟฟ้า
.
และเรื่องที่มีผลกระทบและอาจทำให้เกิดไฟดูดกับผู้ใช้งานมากที่สุด นั่นคือ “การหักขาปลั๊กไฟ” เนื่องจากเต้ารับบางอันยังมีเพียง 2 ช่องเท่านั้น การหักขาสายไฟออกนั้น เป็นการหักขาสายดิน (Ground) ออก อีกทั้งทำให้เกิดการเสียบปลั๊กไฟสลับด้านระหว่างขาไลน์ (Line) และขานิวทรัล (Neutral) ซึ่งอาจเกิดปัญหาไฟฟ้าดูดได้ จึง”ไม่ควรหักขาปลั๊กไฟ”